ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ.......เรื่องใกล้ตัว...
ภัยธรรมชาติ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เราอาจจะได้ยินชื่อปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราไม่ค่อยจะคุ้นเคย เช่นปรากฏการณ์เอล-นีโน(El-Neno) ที่เกิดจากไฟไหม้ป่าที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคาดกันว่าจะส่งผลกระทบไปทั่วโลกและเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาคลื่นยักษ์ซูนามิ (Tsunamis) ที่เกิดขึ้นกับประเทศปานามา ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ถ้าเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่ามีความ รุนแรงขึ้นกว่าในอดีต สร้างความเสียหายให้กับประเทศต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งนักวิชาการ ต่างก็ออกมาให้ความเห็นว่าเป็นเพราะ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโลก การทำลายธรรมชาติ และการทำลายสิ่งแวดล้อม อันเป็นต้นเหตุการคลาดเคลื่อนของ ฤดูกาลต่าง ๆ ทั่วโลก ตลอดจนของความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ต่าง ๆ เราลองมาดูว่า ภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงและ สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต และทรัพย์สินของมนุษยชาติ ที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ มีอะไรบ้าง

แผ่นดินไหว
.....รู้ไว้ไม่เสียหาย...
แผ่นดินไหว การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศเราอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก แต่ละครั้งก็มีแรงสั่นสะเทือนน้อย แทบจะไม่ ส่งผลเสียหายอะไรมากมาย ต่างกับประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ เช่นชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกาบริเวณรัฐแคลิฟอร์เนีย และประเทศเม็กซิโก ที่ประสบปัญหากับแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง และแต่ละครั้งก็จะรุนแรงและสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือน ถนนหนทางและเศรษฐกิจอย่างมากมาย แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเท่าที่บันทึกไว้ได้ แก่การเกิดแผ่นดินไหวในรัฐอลาสกาประเทศ สหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1964 วัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 9.2 Magnitude มีรายงานของผู้เสียชีวิตในอลาสกา 106 คน ในแคลิฟอร์เนีย 13 คน ในโอเรกอน 4 คน ส่วนแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายมากที่สุด คือแผ่นดินไหวที่ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี ค.ศ.1985 วัดแรงสั่น สะเทือนได้ 8.1 Magnitude มีบันทึกผู้เสียชีวิตถึง 5,500 คน (แต่มีผู้คาดว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตถึง 10,000 คน)

น้ำท่วม
.......เรื่องที่ต้องเตรียมรับมือ...
น้ำท่วม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังจากที่พายุฝนกระหน่ำอย่างหนักและต่อเนื่อง อาจจะภายในไม่กี่ชั่วโมง แล้วเกิดน้ำหลากอย่าง รวดเร็วเข้าท่วมบ้านเรือน แต่ความรุนแรงของแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศพื้นที่ที่เป็นแอ่งหรือที่ราบและอยู่ ใกล้แม่น้ำ จะมีโอกาสเกิดน้ำท่วมได้ง่าย บางพื้นที่อาจจะมีความรุนแรงมากถ้าได้รับแรงหนุนของน้ำป่าที่หลากลงมาในพื้นที่ราบกรณีนี้จะ มาความรุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับชีวิต บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยและระบบสาธารณูปโภคได้อย่างมากมาย เช่นปี ค.ศ.1993 ในรัฐไอโอวา แม่น้ำมีสซีสซิปปี้ตอนบนได้หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรอย่างรวดเร็ว มีผู้สูญหายไป 48 คน ได้รับความเสียหาย15 -20 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับประเทศไทยการเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งแม้จะไม่รุนแรงมากเหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ แต่ก็สร้างความ เสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย เรือกสวน ไร่นาและผลิตผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ในแต่ละปีไม่ใช่น้อย

พายุลูกเห็บ
......เมื่อพระพิรุณพิโรษ...
พายุลูกเห็บ บางคนอาจจะไม่รู้จักว่าลูกเห็บเป็นอย่างไร บางคนอาจจะเคยเห็นลูกเห็บตกเมื่อเกิดฝนตกใหม่ ๆ"ลูกเห็บ" เป็นก้อนน้ำแข็งขนาดเล็ก ๆ แต่ก็มีบางครั้งที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 นิ้ว ในบ้านเรามีพายุลูกเห็บสร้างความเสียหายให้กับ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินต่าง ๆ บ้างเหมือนกัน แต่ก็ไม่ค่อยรุนแรงและไม่บ่อยเหมือนต่างประเทศ พายุลูกเห็บเป็นพายุที่เกิดจากความผันแปร ของอากาศขณะที่พายุฝนเคลื่อนตัว ความชื้นต่ำลอยตัวขึ้นสูงเข้า ปะทะกับลมที่มีความชื้นสูงและลอยตัวต่ำลงทำให้เกิดเป็นก้อนน้ำแข็ง และตกลงมาคล้ายกับฝนถ้ามีขนาดใหญ่และมีความรุนแรงมากก็จะสร้างความเสียหายมาก ในสหรัฐอเมริกาในแต่ละปีพายุลูกเห็บได้ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินปีละหลายพันล้านดอลล่าร์เช่น ในปี ค.ศ.1988 ปีเดียวได้สร้างความเสียหายถึง 39.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

แผ่นดินถล่ม
.......ความสั่นสะเทือนที่น่ากลัว...
แผ่นดินถล่ม ส่วนใหญ่เกิดในภูมิประเทศที่มีพื้นที่ที่ต่างระดับกันมาก เช่นเทือกเขา ไหล่เขา บางครั้งสามารถสร้างความ เสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้มาก โดยเฉพาะกรณีที่มีชุมชนตั้งอยู่ในหุบเขา เชิงเขาหรือตามไหล่เขา ที่ เม็กซิโกในปี 1955 แผ่นดินถล่มที่เมือง Atenquique มีผู้เสียชีวิต 100 คน ในปี 1959 แผ่นดินถล่มที่เมือง Minatitlan มีผู้เสียชีวิตถึง 800 คน ในประเทศไทยไม่ใช่ว่าไม่มีแผ่นดินถล่ม มีทุกปีเหมือนกัน ถ้าเราเดินทางผ่านเส้นทางที่ ตัดผ่านภูเขาในช่วงหน้าฝน เราจะได้พบเห็นแผ่นดินถล่มลงมาปิดเส้นทางจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ บางครั้ง ก็สร้างความเสียหายให้กับยวดยานพาหนะ และต้องเสียเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงกว่าจะเคลียพื้นที่ และเดินทางต่อไปได้แต่กรณี แผ่นดินถล่มและมีผู้เสียชีวิตมาก ๆ ยังไม่เคยมีปรากฏ

ทอร์นาโด
...พายุถล่มโลก
พายุทอร์นาโด "ถ้าคุณได้ยินว่ามันเป็นเสียงจากความหายนะของลม..คุณก็สวดมนต์ได้เลย" นี่เป็นคำจำกัดความสั้น ๆ ที่ คนในพื้นที่ ที่เป็นทางเดินของลมพายุได้กล่าวถึงพายุทอร์นาโดไว้อย่างชัดเจนที่สุด ความรุนแรงของพายุ อาจมีความเร็วของลม
ถึง 200 ไมล์ต่อชั่วโมง และอาจจะมีความกว้างของหน้าลมเป็นไมล์ ๆ ถึงหลายไมล์ บางครั้งเพียงแค่เวลาไม่กี่นาทีพายุก็สามารถ
เข้าทำลายเมืองให้ราบคาบได้เป็นเมือง ๆ ในรัฐโอไฮโอ ปี ค.ศ.1974 พายุทอร์นาโดได้ทำสถิติไว้ในช่วงเวลาเพียง 24 ชั่วโมงได้เกิด
พายุทอร์นาโดติดต่อกันถึง 148 ลูก พัดผ่าน 13 รัฐของสหรัฐฯ และส่วนหนึ่งของประเทศแคนาดา โดยมีผู้เสียชีวิตไป 316 คน ส่วนที่
รุนแรงที่สุดคือในปี ค.ศ.1925 พายุทอร์นาโดได้พุ่งเข้าทำลาย3 รัฐใหญ่ คือ มีสซูรี อิลลินอยส์ และรัฐอินเดียนา ของสหรัฐฯ ทำให้มีผู้
เสียชีวิตไปถึง 695 คน และบาดเจ็บไม่น้อยกว่า 2,000 คน ไม่นับรวมความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่มีค่าอีกมากมายมหาศาลในแต่ละครั้ง
จากสถิติในแต่ละเดือนจะมีทอร์นาโดเกิดขึ้นทุกเดือน ตั้งแต่เฉลี่ยเดือนละ 14 ครั้งเป็นอย่างน้อย (ธันวาคม-มกราคม) ถึงเดือนละ 160 -170 ครั้ง (มีนาคม - มิถุนายน) ปัจจุบันมีการศึกษาและตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถบอกได้อย่างแม่นยำว่าเมื่อไรเทอร์นาโดจะก่อตัว ขึ้นทำให้มีผู้เสียชีวิตน้อยลงจากในอดีตมาก (ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากพายุทอร์นาโดเฉลี่ย ปีละ 90 คน)

เฮอร์ริเคน
.....ปีศาจที่มาจากท้องทะเล
เฮอร์ริเคน เป็นลมพายุที่สร้างความเสียหายแต่ละครั้งได้อย่างมหาศาล เพราะพายุเฮอร์ริเคนไม่เพียงแต่เป็นลม แต่ยังมีน้ำจำนวนมหาศาลที่พัดอยู่กับกระแสลมเป็น ซึ่งเป็นตัวทำลายที่สำคัญ เฮอร์ริเคนจะพัดวนเป็นวงกว้าง และมีจุดศูนย์กลาง ของพายุ ที่เรียกว่า Center of Eye บางครั้งความเร็วของลมอาจจะน้อยกว่าทอร์นาโดแต่สามารถสร้างความเสียหายได้มาก กว่ามากมายหลายเท่านัก เช่น ในปี 1900 พายุเฮอร์ริเคน ซึ่งไม่ได้ระบุชื่อ ได้พัดขึ้นฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาที่เมือง Galveston ในรัฐเท็กซัส ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 8,734 คนสร้างความสูญเสีย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบัน มีการป้องกันชีวิตผู้คนด้วยการอพยพ ให้พ้นจากทางผ่านของพายุ ทำให้มีผู้เสียชีวิตลดน้อยลง แต่ความสูญเสียโดยรวมคิดเป็นมูลค่ามากขึ้น

ซูนามิ
.....มันมาแบบไม่รู้ตัว
ซูนามิ เป็นคลื่นใต้น้ำขนาดใหญ่(มาก) เกิดจากมีแผ่นดินไหวหรือการเคลื่อนตัวของผิวโลกใต้น้ำ จากจุดเริ่ม อาจจะมีขนาดไม่กี่นิ้ว แต่เมื่อถึงชายฝั่งอาจจะมีขนาดสูงหลายสิบเมตร และจะพุ่งเข้าทำลายบ้านเรือนและสิ่งกีด ขวางให้ราบเป็นหน้ากลองได้ภายในไม่กี่นาที สิ่งที่น่ากลัวก็คือปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือตรวจสอบที่สามารถตรวจ การเกิดซูนามิได้ทำให้ไม่สามารถป้องกันอะไรได้เลย จึงก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาที่ประเทศ ไทยนี่เองมีผู้ให้ข่าวว่าจะเกิดซูนามิที่ภาคใต้ ซึ่งก็ได้สร้างความปั่นป่วนไปพักหนึ่ง บางหมู่บ้านมีการอพยพขึ้นไปอยู่ที่สูง เช่นยอดเขา แต่บางคนก็ยังไม่รู้สึกหวาดวิตกอันใด ยังใช้ชีวิตตามปกติ แต่คำทำนายดังกล่าวก็ไม่เป็นความจริง แต่อย่างใด

ภูเขาไฟระเบิด
.......เมื่อพระธรณีพ่นลาวา...
ภูเขาไฟระเบิด อาจจะนับว่าเป็นโชคดีของประเทศไทยที่ไม่มีภูเขาไฟ (ในอดีตอาจจะมี โดยมีการค้นพบหลักฐานที่น่าเชื่อ ถือว่าเคยมีภูเขาไฟที่จังหวัดบุรีรัมย์) เพราะในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่นฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ต่างก็มีภูเขาไฟ ซึ่งมีทั้งที่ดับแล้วและที่ยังไม่ดับ ที่ดับแล้วก็ไม่เป็นปัญหาอะไร บางแห่งอาจจะได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่สวยงามอีกด้วย เช่น ภูเขาไฟฟูจิในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในเรื่องของความสวยงามจนสามารถ นำมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ส่วนในกรณีของภูเขาไฟที่ยังไม่ดับก็เป็นเสมือนระเบิดเวลาที่จะต้อง คอยตรวจสอบ ระแวดระวังว่าจะประทุขึ้นมาเมื่อไร เพื่อจะได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่จะได้รับอันตรายได้อพยพ เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ทัน มิเช่นนั้นจะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น ในประเทศเม็กซิโก ภูเขาไฟ El Chichon ได้ระเบิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1982 คาดว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,800 คน สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้างขวางถึง 58,000 ตารางไมล์

ไฟป่า
.......เมือป่าไม้ถูกทำลาย..
ไฟป่า โดยทั่วไปไฟป่าที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากสองประการ คือ ไฟป่าที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติจริง ๆ และไฟป่าที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้กระทำอาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แล้วลุกลามเข้าไปในป่าธรรมชาติโดยมิอาจควบคุม ได้ ในแต่ละปีเฉพาะในสหรัฐอเมริกาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นอย่างมากมาย อาจจะถึง 100,000 - 120,000 ครั้ง สร้างความ เสียหายให้พื้นที่ป่าหลายล้านเอเคอร์ บางครั้งไม่สามารถควบคุมได้และได้ลุกลามเข้าไหม้บ้านเรือน ที่อยู่ในพื้นที่ที่ต่อ เนื่องกับเขตป่าธรรมชาติ อย่างเช่นในปี 1994 ไฟป่าได้เข้าทำลายบ้าน-คฤหาสน์ หลายร้อยหลังของบรรดาผู้มีอัน จะกิน ใน ลากูน่า บีช เมืองลอสเองเจลลีส ซึ่งเป็นข่าวครึกโครมมาแล้ว ในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 61 คน และได้รับ ความเสียหายมากกว่า 43 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับประเทศไทยเราก็คงได้พบเห็นข่าวเกี่ยวกับไฟป่าทุกปี บางครั้งก็กินเวลาหลายวันกว่าจะดับได้ แต่เราจะเห็นได้ว่าความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลไม่ค่อย รุนแรงมากนัก นั่นอาจเป็นเพราะประเทศไทยไม่ค่อยอนุรักษ์พื้นที่ป่าที่ติดกับชุมชนหรือเมือง ทำให้ไม่มีบ้านเรือนได้ รับความเสียหายเหมือนกับต่างประเทศ หรืออีกอย่างหนึ่งประเทศไทยมีการตัดไม้ทำลายป่ากันมากทำให้เป็นพื้นที่ป่า โปร่ง หรือป่าเสื่อมโทรมที่สามารถเป็นพื้นที่กันชนระหว่างไฟป่ากับชุมชน ก็เป็นได้

...ถึงตรงนี้อาจจะพูดได้ว่าประเทศไทยนับได้ว่าโชคดีที่สุด ที่ไม่ค่อยจะประสบกับภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงเหมือน อย่างที่บางประเทศประสบกันอยู่ ที่ร้ายแรงที่สุดก็คงจะเป็นคราวพายุใต้ฝุ่น "เกย์" ที่พัดเข้าชายฝั่งตะวันออกของ ภาคใต้ บริเวณจังหวัดชุมพร ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมากมาย ส่วนภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงอื่น ๆ คงไม่มีให้เห็นในประเทศของเรา นอกจากถ้าใครอยากพบเห็นของจริงคงต้องไปดูที่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา…

บทความนี้ เกิดจากแรงจูงใจเมื่อข้าพเจ้าฯได้อ่านสารคดี Living With Natural Hazards ในหนังสือ National
Geographic (VOL.194,No.1 JULY 1998) ซึ่งได้กล่าวถึงอันตรายจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในทวีป
อเมริกาเหนือ

ย้อนกลับไปหน้าหลัก.